วันจันทร์ที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

สัปดาห์ที่9


บันทึกการเรียนการสอน ครั้งที่ 9

วันศุกร์  ที่ 31  มกราคม  พ.ศ. 2557

 => การเรียนการสอนในวันนี้ คือ การนำเสนอสื่อคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย และสื่อของดิฉันคือ

 ชื่อสื่อ  " ฝาแฝด "
 


วิธีการเล่น

  => ใช้คำถามว่า  "อะไรที่เหมือนหรือคล้ายกัน"  แล้วให้เด็กๆที่เล่นจับคู่ให้ถูกต้อง


ประโยชน์ของสื่อ
  1. เด็กได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์จากรูปเรขาคณิต
  2. เด็กได้เรียนรู้การเปลี่ยนแปลงของรูปเรขาคณิตที่เกิดจากการตัด  การต่อเติม
  3. เด็กได้นำสิ่งต่างๆรอบตัวมาเชื่องโยงกับผ่านการเล่นกับวิชาคณิตศาสตร์
  4. เด็กได้เรียนรู้ทักษะต่างๆจากการเล่นเกมสื่อคณิต

 สื่อที่ดิฉันประทับใจคือ  "พีชคณิต ปู๊น ปู๊น"



ประโยชน์ที่ประทับใจสื่อนี้ คือ
  1. เด็กได้เรียนรู้รูปเรขาคณิต  และสีต่างๆ
  2. เด็กได้ใช้ความรู้ความคิดในการเล่นเกมคณิต
  3. สื่อชิ้นนี้เด็กสามารถเล่นได้หลายหลายรูปเเบบตามจินตนาการของเด็ก
  4. สื่อชิ้นส่งเสริมพัฒนาการที่ดีให้กับเด็กในเรื่องการสังเกต การจดจำ 
  5. เด็กได้พัฒนากล้ามเนื้อมือในการจับภาพ หรือการนำไปติดที่เกม

การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้

=> สามารถนำสื่อคณิตที่ได้ทำขึ้นไปจัดกิจกรรมในการเรียนการสอน เพื่อส่งเสริมทักษะให้เด็กพัฒนาความรู้ ความคิด และเรียนรู้เรื่อง จำนวน ตัวเลข  การจำเเนก การเปรียบเทียบปริมาตร  เรขาคณิต เเละอืี่นๆเป็นการต่อยอดทักษะการสังเกต การจดจำ ผ่านการเล่น  และการลงมือปฏิบัติ จากการเล่นเกมของเด็กตามจินตนาการ ความคิดสร้างสรรค์ และประสบการณ์ที่เด็กได้รับอย่างอิสระ




วันจันทร์ที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2557

สัปดาห์ที่ 8

บันทึกการเรียนการสอน ครั้งที่ 8
วันศุกร์  ที่  24  มกราคม  พ.ศ. 2557


=> การเรียนการสอนในวันนี้อาจารย์มอบหมายให้ทำงานกลุ่ม 5-6 คน 
ให้เขียนเเผนการสอนการจัดประสบการณ์สำหรับด็กปฐมวัย  
โดยผ่านกิจกรรมทั้ง 6 กิจกรรม คือ
  1. กิจกรรมเสรี / การเล่นตามมุม
  2. กิจกรรมสร้างสรรค์
  3. กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ
  4. กิจกรรมเสริมประสบการณ์
  5. กิจกรรมกลางแจ้ง
  6. เกมการศึกษา                                                                                                                                                        พร้อมออกมานำเสนอแผนให้เพื่อนๆได้ฟัง
กลุ่มของดิฉันเลือก กิจกรรมกลางแจ้งการเล่นน้ำ แผนการจัดประสบการณ์ชั้นอนุบาล 3

ชื่อกิจกรม ตักๆเติมๆ



การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้


=>  สามารถนำแผนนี้มาจัดกิจกรรมการเล่นให้กับเด็กโดยบูรณาการวิชาคณิตศาสตร์ผ่านกิจกกรรมการเล่นกลางแจ้งคือการเล่นน้ำ  ซึ่งครูก็อธิบายกฎกติกาการเล่นเเละสาธิตวิธีการเล่นให้เด็กๆดูก่อน 1 ครั้ง เมื่อคุณครูให้สัญญาณให้  เด็กๆเติมน้ำใส่ขวดตามเวลาที่ครูกำหนดให้ แล้วนำขวดน้ำของแต่ละคนมาเปรียบเทียบระดับของน้ำเเละช่วยกันเรียงลำดับของน้ำจากมากไปน้อย และน้อยไปมาก  หากเด็กได้เรียนรู้ผ่านการเล่น ผ่านการลงมือปฏิบัติจริง เด็กก็จะเกิดทักษะต่างๆในการเรียนรู้ เพราะการที่เด็กได้ทดลอง ได้กระทำลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง หรือได้ลองเเก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในขณะเล่นหรือทำกิจกรรม  เด็กก็จะเกิดการคิด  เกิดการสังเกต เกิดความรู้และคิดที่จะลองเเก้ไขปัญหาด้วยตนเอง นั้นอาจจะเป็นประสบการณ์ที่ดีของเด็ก  จากการจัดประสบการณ์ในเเต่ละครั้งครูควรให้เด็กมีส่วนร่วมในการเสดงความคิดเห็น และช่วยกันรวบข้อมูลว่าเด็กได้อะไรจากการเล่นบ้าง เป็นการกระตุ้นให้เด็กมีพัฒนาการที่ดีในทุกๆด้านพร้อมเปิดโอกาสให้เด็กใช้จินตนาการและความคิดสร้างสรรค์






วันจันทร์ที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2557

สัปดาห์ที่7


บันทึกการเรียนการสอน ครั้งที่ 7

วันศุกร์  ที่  17 มกราคม  พ.ศ. 2557

        การเรียนวันนี้อาจารย์ให้ทำกิจกรรม โดยมอบหมายงานกลุ่ม 2 งาน คือ
1. ทำสื่อการสอนคณิตศาสตร์ สาระการเรียนรู้ที่ 5 คือ การวิเคราะข้อมูลและความน่าจะเป็น 
2. ทำสื่อการสอนคณิตศาสตร์  สาระการเรียนรู้ที่ 4  คือ พีชคณิต

กิจกรรมที่ 1
กลุ่มของดิฉันได้ทำ แผนภูมิแท่ง หัวข้อผลไม้ที่หนูชอบกินมากที่สุด เช่น กล้วย ชมพู่ มะม่วง ส้ม

การทำสื่อการสอน
  

สื่อที่สำเร็จแล้ว

 การนำเสนอสื่อการสอน
  
=>ร้องเพลงผลไม้เป็นสื่อในการนำเข้าสู่บทเรียน 

               =>  เกมใครยกมือเร็วที่สุดคนนั้นได้ออกมาติดชื่อผลไม้ ตัวเองชอบกินมากที่สุด                                                         
                                                   การนำไปใช้ประยุกต์ใช้ 
       สามารถนำเพลงผลไม้ เล่านิทานผลไม้ เล่มเกมชื่อผลไม้ มาใช้เป็นเทคนิคในการนำเข้าสู่บทเรียน ให้เด็กสนใจในกิจกรรมการสอนของคุณครูหรือเรียกกันว่า การเก็บเด็ก และใช้เทคนิคในการสอนเด็กๆโดยการเสริมแรงให้กับเด็กเช่น เกมใครยกมือเร็วที่สุดคนนั้นได้ออกมาติดชื่อผลไม้ตัวเองชอบกินมากที่สุด ซึ่งเด็กๆก็รอฟังเสียงสัญญาณคุณครูเเล้วเตรียมพร้อมจะยกมือให้เร็วที่สุด เด็กจะมีสมาธิได้เรียนรู้ทักษะด้านการฟัง  จากนั้นคุณครูจะสรุปกิจกรรมให้เด็กๆฟังว่ากิจกรรมนี้ผลไม้ชนิดใดที่เด็กชอบมากที่สุด และชอบน้อยที่สุด


กิจกรรมที่ 2
กลุ่มของดิฉันทำสื่อการสอนพีชคณิต

ผลงาน

=> ท่องโลกทะเลกว้างกับสัตว์หรรษา

         การนำไปประยุกต์ใช้
            เราสามารถนำเพลงสัตว์ต่างๆมาร้องเพลงนำเข้าสู่บทเรียน เพื่อให้เด็กเกิดความสนุกสนานเกิดความสนใจในการเข้าร่วมกิจกรรม เป็นการกระตุ้นให้เด็กเกิดจินตนาการในการคิดท่าทางประกอบเพลงหรือเเสดงท่าทางสัตว์ต่างๆที่ตนเองชื่นชอบ ซึ่งคุณครูจะอาจให้เด็กๆทำกิจกรรมงานศิลปะสร้างสรรค์  เช่นการนำกระดาษสีมาตัดปะให้เกิดผลงานตามจินตนาการ หรือการเล่านิทานจากผลงานที่เด็กๆได้สร้างสรรค์เเสดงออกมา  เพื่อส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ พัฒนาการที่ดีทางคณิตศาสตร์ ให้มีความรู้  ความคิด และได้รับประสบการณ์ใหม่ๆที่อาจจะบูรณาการให้เข้ากับวิชาอื่นๆได้อีกด้วย



วันจันทร์ที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2557

สัปดาห์ที่6



บันทึกการเรียนการสอน ครั้งที่ 6

วันศุกร์  ที่  10  มกราคม  พ.ศ. 2557


             การเรียนการสอนวันนี้ อาจารย์เตือนงานที่จะต้องส่งคือ "สื่อเกมคณิตศาสตร์"
 และองค์ประกอบที่ต้องส่งควบคู่กับสื่อคือ  => ชื่อสื่อ
                                                                          => วิธีการเล่น
                                                                          => เมื่อให้เด็กเล่นเเล้วผลเป็นอย่างไร
                                                                          => ปัญหาที่พบ
                                                                          => สรุปประโยชน์ของสื่อชิ้นนี้ 
           อาจารย์สอนเกี่ยวกับกรอบมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ปฐมวัย คือสาระและมาตรฐานการเรียนรู้ และคุณภาพของเด็กเมื่อจบการศึกษาปฐมวัย
 ซึ่งสาระและมาตรฐานการเรียนรู้จะเเบ่งออกเป็น 6 สาระ ดังนี้
  • สาระที่ 1 : จำนวนและการดำเนินการ
 มาตรฐาน ค.ป. 1.1เข้าใจถึงความหลากหลายของการเเสดงจำนวนเเละการใช้จำนวนในชีวิต
  • สาระที่ 2 : การวัด
มาตรฐาน ค.ป. 2.1 มีความเข้าใจเกี่ยวกับ ความยาว น้ำหนัก ปริมาตร เงิน และเวลา
  • สาระที่ 3 : เรขาคณิต
มาตรฐาน ค.ป. 3.1  รู้จักใช้คำในการบอกตำเเหน่ง ทิศทาง และระยะทาง
มาตรฐาน ค.ป. 3.2  รู้จักจำเเนกรูปเรขาคณิตและเข้าใจความเปลี่ยนแปลงรูปเรขาคณิตที่เกิด  จากการจัดกระทำ
  • สาระที่ 4 : พีชคณิต
มาตรฐาน ค.ป. 4.1  เข้าใจแบบรูปและความสัมพันธ์
* แบบรูปของรูปที่มีรูปร่าง ขนาด หรือ สี ที่สัมพันธ์กันอย่างใดอย่างหนึ่ง
  • สาระที่ 5 :  การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
 มาตรฐาน ค.ป. 5.1 รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวกับตนเอง สิ่งเเวดล้อมเเละการนำเสนอในรูปแผนภูมิ
  • สาระที่ 6 : ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์
     การเเก้ปัญหา การให้เหตุผล การสื่อสาร การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์ และการนำเสนอ การเชื่อมโยงความรู้ต่างๆทางคณิตศาสตร์ และเชื่อมโยงคณิตศาสตร์กับศาสตร์อื่นๆ และมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์


การนำความรู้ไประยุกต์ใช้
       สามารถนำความรู้ เรื่องกรอบมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์มาประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนของเด็กปฐมวัย ซึ่งเรื่องของคณิตศาสตร์ไม่ใช่เรื่องง่ายๆที่เด็กจะเข้าใจ  คุณครูจึงมีเทคนิคหลากหลายที่สามารถจัดกิจกรรมบูรณาการผ่านการเล่นให้เด็กได้รับประสบการณ์ในเรื่องคณิตศาสตร์ เช่น การนับจำนวน รูปเรขาคณิต การบอกปริมาตร  บอกทิศทาง และการสังเกตลักษณะต่างๆของรูปร่าง รูปทรง  สิ่งเหล่านี้เป็นการกระตุ้นให้เด็กได้มีทักษะพัฒนาการที่ดีขึ้นและยังส่งเสริมให้เด็กฝึกความรู้  ความคิด จินตนาการ การใช้เหตุผล การเเก้ปัญหา ในด้านต่างๆที่เด็กสนใจตามความถนัดในสิ่งที่เด็กอยากเรียนรู้และจดจำ ผ่านประสบการณ์ใหม่ๆที่เด็กได้รับ



วันศุกร์ที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2556

สัปดาห์ที่5



บันทึกการเรียนการสอน ครั้งที่ 5


วันศุกร์ ที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2556

            =>  การเรียนในวันนี้อาจารย์ให้ทำกิจกรรมวาดรูปสัตว์ โดยใช้รูปเรขาคณิตเป็นสื่อในการสร้างสรรค์ผลงาน ซึ่งมีให้เลือกทั้ง วงกลม สี่เหลี่ยม สามเหลี่ยม  
ดิฉันเลือกรูปวงกลมมาเป็นเเบบในการประดิษฐ์รูปสัตว์

                                                                                              " ผึ้งน้อย "


 เพลง ผึ้ง
          หึ่ง ๆ ๆ เสียงผึ้งบินมาเร็วไว     เกาะเกสรดอกไม้แล้วดูดน้ำหวานทันที

     หึ่ง ๆ ๆ แล้วผึ้งกลับรังเปรมปรีดิ์    เก็บน้ำหวานทันทีไว้ที่รวงรังมันเอย
                       

การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ 

            สามารถสอนหรือจัดกิจกรรมให้เด็กได้เรียนรู้รูปทรงต่างๆจากรูปเรขาคณิตและหาสิ่งของอะไรทีอยู่รอบๆตัวที่มีลักษณะเป็นรูปร่าง รูปทรงต่างๆ เช่น  ลูกบอลมีลักษณะเป็นวงกลม เด็กก็จะได้เห็นลักษณะจากสิ่งของที่เป็นจริง หรือภาพจำลอง เด็กก็จะเกิดกระบวนการเรียนรู้  เกิดทักษะต่างๆ ซึ่งจะช่วยให้เด็กได้สร้างสรรค์ผลงานตามความคิดจินตนาการในสิ่งที่เขาพบเจอมาจากสิ่งเเวดล้อมรอบๆตัวเขา หรือคนใกล้ชิด และยังสามารถนำเพลงมาประกอบกิจกรรมกับผลงานที่เด็กได้ทำขึ้น เด็กก็จะได้เรียนรู้ทักษะจากการจดจำเนื้อเพลง ได้เรียนรู้ลักษณะการดำเนินชีวิตของผึ้ง พร้อมกับฝึกการคิดท่าทางประกอบเพลงอย่างสร้างสรรค์อีกด้วย



วันจันทร์ที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2556

สัปดาห์ที่4


 บันทึกการเรียนการสอน ครั้งที่ 4


วันศุกร์ ที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2556

เนื้อหาการเรียนวันนี้  => วันนี้อาจารย์ให้แต่ละกลุ่มออกมานำเสนองาน และแจกใบประเมินให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการประเมินเพื่อนในเเต่ละกลุ่มที่ออกมานำเสนองาน ซึ่งแบ่งออกเป็น 5 กลุ่ม ดังนี้

กลุ่มที่ 1 นำเสนอเรื่อง จำนวนและการดำเนินการ
       =>เราสอนเด็กในเรื่องของการนับเลข  การเปรียบเทียบ การจำแนกสิ่งของต่างๆ

ตัวอย่างเช่น 

                                                          การบอกจำนวนสิ่งของต่างๆแทนตัวเลข

    กลุ่มที่ 2 นำเสนอเรื่อง การวัด
         =>เราสอนเด็กโดยการวัด คือ การหาคำตอบเกี่ยวกับ เวลา ระยะทาง น้ำหนักด้วยการจับเวลา การวัดระยะทาง การชั่งน้ำหนักหรือการตวง ซึ่งมีหน่วยที่แน่นอน
    "แต่การสอนเรื่องการวัดให้กับเด็กอนุบาล การวัดจะไม่มีหน่วย"


    ตัวอย่าง
    การวัดและบอกความยาวของสิ่งต่างๆรอบตัวได้

     เช่น วัดความสูงโดยการใช้ตุ๊กตา

    กลุ่มที่ 3 นำเสนอเรื่อง เรขาคณิต
     =>เราสามารถสอนเด็กเรียนรู้ในเรื่องเรขาคณิต คือการบอกรูปร่างรูปทรง การจำแนก การบอกตำแหน่ง ทิศทาง และระยะทาง
    • บอกตำแหน่งทิศทางและระยะทาง ของสิ่งต่างๆได้ เช่น ดวงดาวอยู่บนท้องฟ้า พื้นดินอยู่ด้านล่าง ข้างในห้องเรียน  ข้างนอกห้องเรียน ข้างหน้า ข้างหลัง ซ้ายมือ ขวามือ ส่วนระยะทาง เด็กอาจบอกว่าจากบ้านหนูไปถึงร้านค้าห่างกัน 3 หลัง
    • รู้จักจำแนกของรูปเรขาคณิต ที่เด็กๆที่เห็นที่เหมือนหรือคล้าย ทรงกลม ทรงกระบอก สามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม วงรี ได้โดยเด็กแต่ละคนอาจจะตอบไม่เหมือนกันเกิดจากความรู้เดิมของเด็กและประสบการณ์ของเด็กที่แตกต่างกัน                                          

    ตัวอย่างเช่น           
    =>
     เด็กๆนำรูปเรขาคณิตมาต่อ เติม ให้เกิดความคิดสร้างสรรค์

    กลุ่มที่ 4 นำเสนอเรื่อง พีชคณิต
       => เป็นสาขาหนึ่งในสามสาขาหลักทางคณิตศาสตร์ ร่วมกับเลขาคณิตและการวิเคราะห์ พีชคณิตเป็นการศึกษาเกี่ยวกับ โครงสร้าง ความสัมพันธ์ และจำนวน 
    พีชคณิตสำหรับเด็กปฐมวัย คือ รูปแบบ และความสัมพันธ์ในรูปแบบที่มีรูปร่างขนาด หรือสีที่ สัมพันธ์กันอย่างใดอย่างหนึ่ง

    ตัวอย่างเช่น => ให้เด็กๆลากเส้นจับคู่ภาพที่มีความสัมพันธ์กัน


    กลุ่มที่ 5 นำเสนอเรื่อง วิเคาระห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
         =>เราสามารถสอนเด็กในการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการเปรียบเทียบ  การจำเเนก หรือการสุ่ม เป็นต้น
    ตัวอย่างเช่น 
    การสุ่มหยิบลูกปิงปอง

    =>



    ความรู้ที่ได้รับ และการนำไปประยุกต์ใช้
                     การจัดการรียนการสอนด้านคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยครูควรจัดกิจกรรมหรือจัดมุมเสริมประสบการณ์ต่างๆ ซึ่งเด็กจะเรียนรู้จากการเล่น การที่เด็กได้มีประสบการณ์ ได้ปฏิบัติ และสัมผัสจริง เช่นการนับเลข  การนับสิ่งของที่เป็นของจริง จับต้องได้ สัมผัสได้  การวัดสิ่งต่างๆ ที่อยู่รอบตัว ซึ่งจะไม่มีหน่วยมาตรฐาน   การจำแนก  การเปรียบเทียบ รูปร่างรูปทรง  เพื่อให้เด็กเกิดการเรียนรู้ และมีทักษะที่ดีทางด้านพัฒนาการที่เหมาะสมตามวัย

    วันเสาร์ที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

    สัปดาห์ที่3


    บันทึกการเรียนการสอน  ครั้งที่3
    วันศุกร์ ที่  22  พฤศจิกายน  พ.ศ. 2556

    การเรียนในวันนี้อาจารย์สอนทฤษฎีโดยใช้ power pointอธิบายเนื้อหาความรู้เกี่ยวกับจุดมุ่งหมายของการสอนคณิตศาสตร์ การวัดของเด็กปฐมวัยไม่ใช้หน่วยมาตาฐานในการวัด และทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ซึ่งมีขั้นดังต่อไปนี้                
    1. การสังเกต คือการใช้ประสาทสัมผัสอย่างใดอย่างหนึ่งเข้าไปมีปฎิสัมพันธ์โดยตรงกับวัตถุและสิ่งของ 
    • ตัวอย่างเช่น 


     =>การเล่นของเล่นจากการสังเกตของเด็ก 

    เด็กนำเอารูปทรงเรขาคณิตมาใส่ให้ตรงบล็อกในเเต่ละรูปทรงนั้นๆ

    2. การจำเเนกประเภท คือการแบ่งประเภทสิ่งของโดยใช้ความเหมือน ความเเตกต่าง ความสัมพันธ์

    • ตัวอย่างเช่น



     => การจำเเนกประเภทผักและผลไม้


     3. การเปรียบเทียบ คือการเข้าใจเหตุการณ์หรือลักษณะวัตถุสิ่งของที่มีความสัมพันธ์ตั้งเเต่2สิ่งขึ้นไป
    • ตัวอย่างเช่น


    => การเปรียบเทียบระหว่างช้างกับกระต่ายว่าใครมีขนาดตัวใหญ่หรือตัวเล็กกว่ากัน

    4. การจัดลำดับ คือการจัดลำดับวัตถุสิ่งของหรือเหตุการณ์ 
    • ตัวอย่างเช่น





     =>การเรียงลูกบอลจากน้อยไปหามาก

    5. การวัด คือการวัดอุณภูมิ เวลา ระยะทาง ความยาว น้ำหนัก และปริมาณ
    • ตัวอย่างเช่น 


    => การวัดเชือก 2 เส้นว่ามีความยาวเท่ากันหรือไม่

    6. การนับ คือการให้เด็กนับแบบท่องจำโดยไม่เข้าใจความหมายหรือมีความหมายเชื่อมโยงกับวัตถุสิ่งของหรือจุดประสงค์บางสิ่งบางอย่างให้เด็กเกิดเข้าใจได้
    • ตัวอย่างเช่น 
    => การนับเลขโดยใช้วัตถุสิ่งของมาเชื่อมโยง เช่นตุ็กตา 1 ตัว ล้อรถ 2 ล้อ เป็นต้น


    7. รูปทรงและขนาด คือรูปทรงหรือขนาดสิ่งของต่างๆที่เด็กได้มีความรู้ก่อนเข้าโรงเรียน
    • ตัวอย่างเช่น
    => รูปทรงต่างๆที่เด็กนำมาเล่นตามจินตนาการ


    กิจกรรมในวันนี้ => อาจารย์ให้วาดรูปวงกลม 1 วง แล้วเขียนเลขที่ชอบ 1 เลขตรงกลาง
    จากนั้นอาจารย์ก้เฉลยว่า ให้วาดกลีบตามจำนวนเลขที่เขียนไป และก็ออกมาเป็นผลงานดังนี้

     flower => ดอกไม้
           
                     ดอกไม้แสนสวยของหนูเองจ้าาาาา

    ความรู้ที่ได้รับและการนำไปประยุกต์ใช้ 
                           เราได้เข้าใจถึงจุดมุ่งหมาย และทักษะของการเรียนที่ดีทางด้านคณิตศาสตร์

    ซึ่งครูสามารถจัดกิจกรรมหรือบูรณาการกิจกรรม ให้เด็กได้เกิดกระบวนการเรียนรู้ ได้คิด ได้ค้นคว้าด้วยตนเองและยังสอดแทรกเนื้อหาในรายวิชาต่างๆ เช่น การจัดกิจกรรมการประดิษฐ์ ดอกไม้่ เด็กจะได้คิด ถึงตัวเลขที่เขาชอบ ได้รู้จักเขียนตัวเลขลงไป ได้ตัดกลีบของดอกไม้ และนับจำนวนกลีบดอกไม้ ให้ครบตามจำนวนที่เขียนลงไป เป็นการจัดการเรียนการสอนที่สอดแทรกเนื้อหาความรู้ไปพร้อมๆกับการจัดกิจกรรม ซึ่งเด็กจะเกิดการเรียนรู้ที่เหมาะสมอย่างเพลิดเพลินในกิจกรรมนั้นๆ