วันจันทร์ที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2557

สัปดาห์ที่ 8

บันทึกการเรียนการสอน ครั้งที่ 8
วันศุกร์  ที่  24  มกราคม  พ.ศ. 2557


=> การเรียนการสอนในวันนี้อาจารย์มอบหมายให้ทำงานกลุ่ม 5-6 คน 
ให้เขียนเเผนการสอนการจัดประสบการณ์สำหรับด็กปฐมวัย  
โดยผ่านกิจกรรมทั้ง 6 กิจกรรม คือ
  1. กิจกรรมเสรี / การเล่นตามมุม
  2. กิจกรรมสร้างสรรค์
  3. กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ
  4. กิจกรรมเสริมประสบการณ์
  5. กิจกรรมกลางแจ้ง
  6. เกมการศึกษา                                                                                                                                                        พร้อมออกมานำเสนอแผนให้เพื่อนๆได้ฟัง
กลุ่มของดิฉันเลือก กิจกรรมกลางแจ้งการเล่นน้ำ แผนการจัดประสบการณ์ชั้นอนุบาล 3

ชื่อกิจกรม ตักๆเติมๆ



การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้


=>  สามารถนำแผนนี้มาจัดกิจกรรมการเล่นให้กับเด็กโดยบูรณาการวิชาคณิตศาสตร์ผ่านกิจกกรรมการเล่นกลางแจ้งคือการเล่นน้ำ  ซึ่งครูก็อธิบายกฎกติกาการเล่นเเละสาธิตวิธีการเล่นให้เด็กๆดูก่อน 1 ครั้ง เมื่อคุณครูให้สัญญาณให้  เด็กๆเติมน้ำใส่ขวดตามเวลาที่ครูกำหนดให้ แล้วนำขวดน้ำของแต่ละคนมาเปรียบเทียบระดับของน้ำเเละช่วยกันเรียงลำดับของน้ำจากมากไปน้อย และน้อยไปมาก  หากเด็กได้เรียนรู้ผ่านการเล่น ผ่านการลงมือปฏิบัติจริง เด็กก็จะเกิดทักษะต่างๆในการเรียนรู้ เพราะการที่เด็กได้ทดลอง ได้กระทำลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง หรือได้ลองเเก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในขณะเล่นหรือทำกิจกรรม  เด็กก็จะเกิดการคิด  เกิดการสังเกต เกิดความรู้และคิดที่จะลองเเก้ไขปัญหาด้วยตนเอง นั้นอาจจะเป็นประสบการณ์ที่ดีของเด็ก  จากการจัดประสบการณ์ในเเต่ละครั้งครูควรให้เด็กมีส่วนร่วมในการเสดงความคิดเห็น และช่วยกันรวบข้อมูลว่าเด็กได้อะไรจากการเล่นบ้าง เป็นการกระตุ้นให้เด็กมีพัฒนาการที่ดีในทุกๆด้านพร้อมเปิดโอกาสให้เด็กใช้จินตนาการและความคิดสร้างสรรค์






วันจันทร์ที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2557

สัปดาห์ที่7


บันทึกการเรียนการสอน ครั้งที่ 7

วันศุกร์  ที่  17 มกราคม  พ.ศ. 2557

        การเรียนวันนี้อาจารย์ให้ทำกิจกรรม โดยมอบหมายงานกลุ่ม 2 งาน คือ
1. ทำสื่อการสอนคณิตศาสตร์ สาระการเรียนรู้ที่ 5 คือ การวิเคราะข้อมูลและความน่าจะเป็น 
2. ทำสื่อการสอนคณิตศาสตร์  สาระการเรียนรู้ที่ 4  คือ พีชคณิต

กิจกรรมที่ 1
กลุ่มของดิฉันได้ทำ แผนภูมิแท่ง หัวข้อผลไม้ที่หนูชอบกินมากที่สุด เช่น กล้วย ชมพู่ มะม่วง ส้ม

การทำสื่อการสอน
  

สื่อที่สำเร็จแล้ว

 การนำเสนอสื่อการสอน
  
=>ร้องเพลงผลไม้เป็นสื่อในการนำเข้าสู่บทเรียน 

               =>  เกมใครยกมือเร็วที่สุดคนนั้นได้ออกมาติดชื่อผลไม้ ตัวเองชอบกินมากที่สุด                                                         
                                                   การนำไปใช้ประยุกต์ใช้ 
       สามารถนำเพลงผลไม้ เล่านิทานผลไม้ เล่มเกมชื่อผลไม้ มาใช้เป็นเทคนิคในการนำเข้าสู่บทเรียน ให้เด็กสนใจในกิจกรรมการสอนของคุณครูหรือเรียกกันว่า การเก็บเด็ก และใช้เทคนิคในการสอนเด็กๆโดยการเสริมแรงให้กับเด็กเช่น เกมใครยกมือเร็วที่สุดคนนั้นได้ออกมาติดชื่อผลไม้ตัวเองชอบกินมากที่สุด ซึ่งเด็กๆก็รอฟังเสียงสัญญาณคุณครูเเล้วเตรียมพร้อมจะยกมือให้เร็วที่สุด เด็กจะมีสมาธิได้เรียนรู้ทักษะด้านการฟัง  จากนั้นคุณครูจะสรุปกิจกรรมให้เด็กๆฟังว่ากิจกรรมนี้ผลไม้ชนิดใดที่เด็กชอบมากที่สุด และชอบน้อยที่สุด


กิจกรรมที่ 2
กลุ่มของดิฉันทำสื่อการสอนพีชคณิต

ผลงาน

=> ท่องโลกทะเลกว้างกับสัตว์หรรษา

         การนำไปประยุกต์ใช้
            เราสามารถนำเพลงสัตว์ต่างๆมาร้องเพลงนำเข้าสู่บทเรียน เพื่อให้เด็กเกิดความสนุกสนานเกิดความสนใจในการเข้าร่วมกิจกรรม เป็นการกระตุ้นให้เด็กเกิดจินตนาการในการคิดท่าทางประกอบเพลงหรือเเสดงท่าทางสัตว์ต่างๆที่ตนเองชื่นชอบ ซึ่งคุณครูจะอาจให้เด็กๆทำกิจกรรมงานศิลปะสร้างสรรค์  เช่นการนำกระดาษสีมาตัดปะให้เกิดผลงานตามจินตนาการ หรือการเล่านิทานจากผลงานที่เด็กๆได้สร้างสรรค์เเสดงออกมา  เพื่อส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ พัฒนาการที่ดีทางคณิตศาสตร์ ให้มีความรู้  ความคิด และได้รับประสบการณ์ใหม่ๆที่อาจจะบูรณาการให้เข้ากับวิชาอื่นๆได้อีกด้วย



วันจันทร์ที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2557

สัปดาห์ที่6



บันทึกการเรียนการสอน ครั้งที่ 6

วันศุกร์  ที่  10  มกราคม  พ.ศ. 2557


             การเรียนการสอนวันนี้ อาจารย์เตือนงานที่จะต้องส่งคือ "สื่อเกมคณิตศาสตร์"
 และองค์ประกอบที่ต้องส่งควบคู่กับสื่อคือ  => ชื่อสื่อ
                                                                          => วิธีการเล่น
                                                                          => เมื่อให้เด็กเล่นเเล้วผลเป็นอย่างไร
                                                                          => ปัญหาที่พบ
                                                                          => สรุปประโยชน์ของสื่อชิ้นนี้ 
           อาจารย์สอนเกี่ยวกับกรอบมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ปฐมวัย คือสาระและมาตรฐานการเรียนรู้ และคุณภาพของเด็กเมื่อจบการศึกษาปฐมวัย
 ซึ่งสาระและมาตรฐานการเรียนรู้จะเเบ่งออกเป็น 6 สาระ ดังนี้
  • สาระที่ 1 : จำนวนและการดำเนินการ
 มาตรฐาน ค.ป. 1.1เข้าใจถึงความหลากหลายของการเเสดงจำนวนเเละการใช้จำนวนในชีวิต
  • สาระที่ 2 : การวัด
มาตรฐาน ค.ป. 2.1 มีความเข้าใจเกี่ยวกับ ความยาว น้ำหนัก ปริมาตร เงิน และเวลา
  • สาระที่ 3 : เรขาคณิต
มาตรฐาน ค.ป. 3.1  รู้จักใช้คำในการบอกตำเเหน่ง ทิศทาง และระยะทาง
มาตรฐาน ค.ป. 3.2  รู้จักจำเเนกรูปเรขาคณิตและเข้าใจความเปลี่ยนแปลงรูปเรขาคณิตที่เกิด  จากการจัดกระทำ
  • สาระที่ 4 : พีชคณิต
มาตรฐาน ค.ป. 4.1  เข้าใจแบบรูปและความสัมพันธ์
* แบบรูปของรูปที่มีรูปร่าง ขนาด หรือ สี ที่สัมพันธ์กันอย่างใดอย่างหนึ่ง
  • สาระที่ 5 :  การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
 มาตรฐาน ค.ป. 5.1 รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวกับตนเอง สิ่งเเวดล้อมเเละการนำเสนอในรูปแผนภูมิ
  • สาระที่ 6 : ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์
     การเเก้ปัญหา การให้เหตุผล การสื่อสาร การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์ และการนำเสนอ การเชื่อมโยงความรู้ต่างๆทางคณิตศาสตร์ และเชื่อมโยงคณิตศาสตร์กับศาสตร์อื่นๆ และมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์


การนำความรู้ไประยุกต์ใช้
       สามารถนำความรู้ เรื่องกรอบมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์มาประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนของเด็กปฐมวัย ซึ่งเรื่องของคณิตศาสตร์ไม่ใช่เรื่องง่ายๆที่เด็กจะเข้าใจ  คุณครูจึงมีเทคนิคหลากหลายที่สามารถจัดกิจกรรมบูรณาการผ่านการเล่นให้เด็กได้รับประสบการณ์ในเรื่องคณิตศาสตร์ เช่น การนับจำนวน รูปเรขาคณิต การบอกปริมาตร  บอกทิศทาง และการสังเกตลักษณะต่างๆของรูปร่าง รูปทรง  สิ่งเหล่านี้เป็นการกระตุ้นให้เด็กได้มีทักษะพัฒนาการที่ดีขึ้นและยังส่งเสริมให้เด็กฝึกความรู้  ความคิด จินตนาการ การใช้เหตุผล การเเก้ปัญหา ในด้านต่างๆที่เด็กสนใจตามความถนัดในสิ่งที่เด็กอยากเรียนรู้และจดจำ ผ่านประสบการณ์ใหม่ๆที่เด็กได้รับ