วันศุกร์ที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2556

สัปดาห์ที่5



บันทึกการเรียนการสอน ครั้งที่ 5


วันศุกร์ ที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2556

            =>  การเรียนในวันนี้อาจารย์ให้ทำกิจกรรมวาดรูปสัตว์ โดยใช้รูปเรขาคณิตเป็นสื่อในการสร้างสรรค์ผลงาน ซึ่งมีให้เลือกทั้ง วงกลม สี่เหลี่ยม สามเหลี่ยม  
ดิฉันเลือกรูปวงกลมมาเป็นเเบบในการประดิษฐ์รูปสัตว์

                                                                                              " ผึ้งน้อย "


 เพลง ผึ้ง
          หึ่ง ๆ ๆ เสียงผึ้งบินมาเร็วไว     เกาะเกสรดอกไม้แล้วดูดน้ำหวานทันที

     หึ่ง ๆ ๆ แล้วผึ้งกลับรังเปรมปรีดิ์    เก็บน้ำหวานทันทีไว้ที่รวงรังมันเอย
                       

การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ 

            สามารถสอนหรือจัดกิจกรรมให้เด็กได้เรียนรู้รูปทรงต่างๆจากรูปเรขาคณิตและหาสิ่งของอะไรทีอยู่รอบๆตัวที่มีลักษณะเป็นรูปร่าง รูปทรงต่างๆ เช่น  ลูกบอลมีลักษณะเป็นวงกลม เด็กก็จะได้เห็นลักษณะจากสิ่งของที่เป็นจริง หรือภาพจำลอง เด็กก็จะเกิดกระบวนการเรียนรู้  เกิดทักษะต่างๆ ซึ่งจะช่วยให้เด็กได้สร้างสรรค์ผลงานตามความคิดจินตนาการในสิ่งที่เขาพบเจอมาจากสิ่งเเวดล้อมรอบๆตัวเขา หรือคนใกล้ชิด และยังสามารถนำเพลงมาประกอบกิจกรรมกับผลงานที่เด็กได้ทำขึ้น เด็กก็จะได้เรียนรู้ทักษะจากการจดจำเนื้อเพลง ได้เรียนรู้ลักษณะการดำเนินชีวิตของผึ้ง พร้อมกับฝึกการคิดท่าทางประกอบเพลงอย่างสร้างสรรค์อีกด้วย



วันจันทร์ที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2556

สัปดาห์ที่4


 บันทึกการเรียนการสอน ครั้งที่ 4


วันศุกร์ ที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2556

เนื้อหาการเรียนวันนี้  => วันนี้อาจารย์ให้แต่ละกลุ่มออกมานำเสนองาน และแจกใบประเมินให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการประเมินเพื่อนในเเต่ละกลุ่มที่ออกมานำเสนองาน ซึ่งแบ่งออกเป็น 5 กลุ่ม ดังนี้

กลุ่มที่ 1 นำเสนอเรื่อง จำนวนและการดำเนินการ
       =>เราสอนเด็กในเรื่องของการนับเลข  การเปรียบเทียบ การจำแนกสิ่งของต่างๆ

ตัวอย่างเช่น 

                                                          การบอกจำนวนสิ่งของต่างๆแทนตัวเลข

    กลุ่มที่ 2 นำเสนอเรื่อง การวัด
         =>เราสอนเด็กโดยการวัด คือ การหาคำตอบเกี่ยวกับ เวลา ระยะทาง น้ำหนักด้วยการจับเวลา การวัดระยะทาง การชั่งน้ำหนักหรือการตวง ซึ่งมีหน่วยที่แน่นอน
    "แต่การสอนเรื่องการวัดให้กับเด็กอนุบาล การวัดจะไม่มีหน่วย"


    ตัวอย่าง
    การวัดและบอกความยาวของสิ่งต่างๆรอบตัวได้

     เช่น วัดความสูงโดยการใช้ตุ๊กตา

    กลุ่มที่ 3 นำเสนอเรื่อง เรขาคณิต
     =>เราสามารถสอนเด็กเรียนรู้ในเรื่องเรขาคณิต คือการบอกรูปร่างรูปทรง การจำแนก การบอกตำแหน่ง ทิศทาง และระยะทาง
    • บอกตำแหน่งทิศทางและระยะทาง ของสิ่งต่างๆได้ เช่น ดวงดาวอยู่บนท้องฟ้า พื้นดินอยู่ด้านล่าง ข้างในห้องเรียน  ข้างนอกห้องเรียน ข้างหน้า ข้างหลัง ซ้ายมือ ขวามือ ส่วนระยะทาง เด็กอาจบอกว่าจากบ้านหนูไปถึงร้านค้าห่างกัน 3 หลัง
    • รู้จักจำแนกของรูปเรขาคณิต ที่เด็กๆที่เห็นที่เหมือนหรือคล้าย ทรงกลม ทรงกระบอก สามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม วงรี ได้โดยเด็กแต่ละคนอาจจะตอบไม่เหมือนกันเกิดจากความรู้เดิมของเด็กและประสบการณ์ของเด็กที่แตกต่างกัน                                          

    ตัวอย่างเช่น           
    =>
     เด็กๆนำรูปเรขาคณิตมาต่อ เติม ให้เกิดความคิดสร้างสรรค์

    กลุ่มที่ 4 นำเสนอเรื่อง พีชคณิต
       => เป็นสาขาหนึ่งในสามสาขาหลักทางคณิตศาสตร์ ร่วมกับเลขาคณิตและการวิเคราะห์ พีชคณิตเป็นการศึกษาเกี่ยวกับ โครงสร้าง ความสัมพันธ์ และจำนวน 
    พีชคณิตสำหรับเด็กปฐมวัย คือ รูปแบบ และความสัมพันธ์ในรูปแบบที่มีรูปร่างขนาด หรือสีที่ สัมพันธ์กันอย่างใดอย่างหนึ่ง

    ตัวอย่างเช่น => ให้เด็กๆลากเส้นจับคู่ภาพที่มีความสัมพันธ์กัน


    กลุ่มที่ 5 นำเสนอเรื่อง วิเคาระห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
         =>เราสามารถสอนเด็กในการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการเปรียบเทียบ  การจำเเนก หรือการสุ่ม เป็นต้น
    ตัวอย่างเช่น 
    การสุ่มหยิบลูกปิงปอง

    =>



    ความรู้ที่ได้รับ และการนำไปประยุกต์ใช้
                     การจัดการรียนการสอนด้านคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยครูควรจัดกิจกรรมหรือจัดมุมเสริมประสบการณ์ต่างๆ ซึ่งเด็กจะเรียนรู้จากการเล่น การที่เด็กได้มีประสบการณ์ ได้ปฏิบัติ และสัมผัสจริง เช่นการนับเลข  การนับสิ่งของที่เป็นของจริง จับต้องได้ สัมผัสได้  การวัดสิ่งต่างๆ ที่อยู่รอบตัว ซึ่งจะไม่มีหน่วยมาตรฐาน   การจำแนก  การเปรียบเทียบ รูปร่างรูปทรง  เพื่อให้เด็กเกิดการเรียนรู้ และมีทักษะที่ดีทางด้านพัฒนาการที่เหมาะสมตามวัย

    วันเสาร์ที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

    สัปดาห์ที่3


    บันทึกการเรียนการสอน  ครั้งที่3
    วันศุกร์ ที่  22  พฤศจิกายน  พ.ศ. 2556

    การเรียนในวันนี้อาจารย์สอนทฤษฎีโดยใช้ power pointอธิบายเนื้อหาความรู้เกี่ยวกับจุดมุ่งหมายของการสอนคณิตศาสตร์ การวัดของเด็กปฐมวัยไม่ใช้หน่วยมาตาฐานในการวัด และทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ซึ่งมีขั้นดังต่อไปนี้                
    1. การสังเกต คือการใช้ประสาทสัมผัสอย่างใดอย่างหนึ่งเข้าไปมีปฎิสัมพันธ์โดยตรงกับวัตถุและสิ่งของ 
    • ตัวอย่างเช่น 


     =>การเล่นของเล่นจากการสังเกตของเด็ก 

    เด็กนำเอารูปทรงเรขาคณิตมาใส่ให้ตรงบล็อกในเเต่ละรูปทรงนั้นๆ

    2. การจำเเนกประเภท คือการแบ่งประเภทสิ่งของโดยใช้ความเหมือน ความเเตกต่าง ความสัมพันธ์

    • ตัวอย่างเช่น



     => การจำเเนกประเภทผักและผลไม้


     3. การเปรียบเทียบ คือการเข้าใจเหตุการณ์หรือลักษณะวัตถุสิ่งของที่มีความสัมพันธ์ตั้งเเต่2สิ่งขึ้นไป
    • ตัวอย่างเช่น


    => การเปรียบเทียบระหว่างช้างกับกระต่ายว่าใครมีขนาดตัวใหญ่หรือตัวเล็กกว่ากัน

    4. การจัดลำดับ คือการจัดลำดับวัตถุสิ่งของหรือเหตุการณ์ 
    • ตัวอย่างเช่น





     =>การเรียงลูกบอลจากน้อยไปหามาก

    5. การวัด คือการวัดอุณภูมิ เวลา ระยะทาง ความยาว น้ำหนัก และปริมาณ
    • ตัวอย่างเช่น 


    => การวัดเชือก 2 เส้นว่ามีความยาวเท่ากันหรือไม่

    6. การนับ คือการให้เด็กนับแบบท่องจำโดยไม่เข้าใจความหมายหรือมีความหมายเชื่อมโยงกับวัตถุสิ่งของหรือจุดประสงค์บางสิ่งบางอย่างให้เด็กเกิดเข้าใจได้
    • ตัวอย่างเช่น 
    => การนับเลขโดยใช้วัตถุสิ่งของมาเชื่อมโยง เช่นตุ็กตา 1 ตัว ล้อรถ 2 ล้อ เป็นต้น


    7. รูปทรงและขนาด คือรูปทรงหรือขนาดสิ่งของต่างๆที่เด็กได้มีความรู้ก่อนเข้าโรงเรียน
    • ตัวอย่างเช่น
    => รูปทรงต่างๆที่เด็กนำมาเล่นตามจินตนาการ


    กิจกรรมในวันนี้ => อาจารย์ให้วาดรูปวงกลม 1 วง แล้วเขียนเลขที่ชอบ 1 เลขตรงกลาง
    จากนั้นอาจารย์ก้เฉลยว่า ให้วาดกลีบตามจำนวนเลขที่เขียนไป และก็ออกมาเป็นผลงานดังนี้

     flower => ดอกไม้
           
                     ดอกไม้แสนสวยของหนูเองจ้าาาาา

    ความรู้ที่ได้รับและการนำไปประยุกต์ใช้ 
                           เราได้เข้าใจถึงจุดมุ่งหมาย และทักษะของการเรียนที่ดีทางด้านคณิตศาสตร์

    ซึ่งครูสามารถจัดกิจกรรมหรือบูรณาการกิจกรรม ให้เด็กได้เกิดกระบวนการเรียนรู้ ได้คิด ได้ค้นคว้าด้วยตนเองและยังสอดแทรกเนื้อหาในรายวิชาต่างๆ เช่น การจัดกิจกรรมการประดิษฐ์ ดอกไม้่ เด็กจะได้คิด ถึงตัวเลขที่เขาชอบ ได้รู้จักเขียนตัวเลขลงไป ได้ตัดกลีบของดอกไม้ และนับจำนวนกลีบดอกไม้ ให้ครบตามจำนวนที่เขียนลงไป เป็นการจัดการเรียนการสอนที่สอดแทรกเนื้อหาความรู้ไปพร้อมๆกับการจัดกิจกรรม ซึ่งเด็กจะเกิดการเรียนรู้ที่เหมาะสมอย่างเพลิดเพลินในกิจกรรมนั้นๆ

    วันศุกร์ที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

    สัปดาห์ที่2


    บันทึกการเรียนการสอน  ครั้งที่2

    วันศุกร์ ที่ 15  พฤศจิกายน  พ.ศ. 2556



       การเรียนการสอนวันนี้ =>การเรียนทฤษฎีเกี่ยวกับความหมยของคณิตศาสตร์ที่ว่าด้วยระบบการคิดของมนุษย์ที่ศึกษาและอธิบายความสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆในเชิงปริมาณ โดยใช้ภาพ สัญลักษณ์ การพูด การเขียนและเป็นการเรียนรู้เพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับจำนวน ตัวเลข และการคิดคำนวณ เป็นต้น ซึ่งความสำคัญทางคณิตศาสตร์จะเป็นพื้นฐานในการเรียนรู้ในรายวิชาต่างๆในชีวิตประจำวันได้ และอาจารย์ก็ได้พูดถึงทฤษฎีพัฒนาการด้านสติปัญญาที่เกี่ยวกับเด็กปฐมวัยตามเเนวคิดของPiaget  การอนุรักษ์เด็กสามารถพัฒนาได้โดยการนับ การจับคู่หนึ่งต่อหนึ่ง การเปรียบเทียบรูปทรง ปริมาตร เรียงลำดับ และการจัดกลุ่ม เราสามารถยกตัวอย่างให้เด็กได้คิดหรือสังเกตได้ดังนี้

    ตัวอย่าง



        มีกองหินอยู่2กองเเต่ละกองมีจำนวนเท่าๆกัน เราจะถามเด็กโดยใช้คำถามปลายเปิดว่าเด็กๆเห็นอะไรบ้าง
    เด็กจะตอบตามความคิดในสิ่งที่เด็กเห็นว่ากองหินกองที่2มีจำนวนเยอะกว่ากองที่1
    เพราะกองที่2ยาวกว่ากองที่1


                จากนั้นเราก็ต้องสอนให้เด็กเรียนรู้วิธีการต่างๆ โดยการนับ การเชื่อมโยง การจับคู่หนึ่งต่อหนึ่ง เพื่อให้เด็กเกิดความเข้าใจสิ่งที่เด็กได้เรียนรู้และรับรู้อย่างชัดเจน
         
    กิจกรรมท้ายคาบนี้  อาจารย์ตฤณให้นักศึกษาวาดรูปสัตว์อะไรก็ได้ที่มีขา ถ้ามีขามากยิ่งดี

    ดิฉันจึงวาดรูปนี้


    ปูอยากเที่ยวทะเลจ้าาาาาาาาา

    เเถมปูของฉันยังได้ใส่รองเท้าด้วยนะ


              กิจกรรมนี้ => เราสามารถนำไปสอนเด็กปฐมวัยในเรื่องของคณิตศาสตร์ได้ เช่นการสอนให้เด็กนับขาหรือเท้าสัตว์ การสอนให้เด็กเห็นว่าสัตว์แต่ละชนิดมีจำนวนเท้าที่ไม่เท่ากัน บางชนิดก็มีจำนวนขาหรือเท้าที่น้อย บางชนิดก็มีจำนวนขาหรือเท้ามาก เพื่อเป็นการส่งเสริมทักษะต่างๆ ที่จะนำไปบูรณาการกิจกรรมให้เด็กเกิดการเรียนรู้ การมีความคิดสร้างสรรค์  และจินตนาการในการประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้
      


               ความรู้ที่ได้รับ =>  ได้ความรู้เกี่ยวกับความหมาย ความสำคัญทางคณิตศาสตร์  ทฤษฎีพัฒนาการด้านสติปัญญาของพีเจต์ และการอนุรักษ์  ซึ่งทั้งหมดนี้เราสามารถนำไปจัดเป้นกิจกรรมหรือบูรณาการในเรื่องการสอนทางคณิตศาสตร์ให้กับเด็กได้เรียนรู้ผ่านการเล่น การสัมผัส การคิด โดยมีสื่ออุปกรณ์ที่เป็นตัวช่วยให้เด็กเกิดการเรียนรู้เเละเข้าใจมากยิ่งขึ้น



    วันศุกร์ที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

    สัปดาห์ที่1


    บันทึกการเรียนการสอนครั้งที่1

    วันศุกร์ ที่  8  พฤศจิกายน  พ.ศ. 2556

    การเรียนการสอนในวันเเรก => อาจารย์ตฤณพูดเกี่ยวกับข้อตกลงในห้องเรียนพร้อมแจกCourse Syllabusเพื่อชี้เเจงรายละเอียดคะเเนนในเเต่ละส่วนว่ามาจากไหนบ้างเพื่อให้นักศึกษาได้ทำความเข้าใจและอาจารย์ก้็มีรายละเอียดข่าวเกี่ยวกับเรื่องทุนมาชี้เเจงให้นักศึกษาที่สนใจ



    กิจกรรมท้ายคาบ=> อาจารย์ตฤณให้นักศึกษานำความรู้เดิมที่เคยเรียนมาทำเป็นแผนผัง My mappingในหัวข้อการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย 

    ผลงานของหนูค่ะ





    ความรู้ที่ได้รับ  =>  ได้ทบทวนความรู้ที่ได้เรียนในรายวิชาต่างๆมาประยุกต์ใช้ในการเรียนรู้จัดกิจกรรมการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์เพื่อสร้างสรรค์และต่อยอดความคิดใหม่ๆ